6/09/2007

คู่มือสำหรับผู้เข้าร่วมเทศกาลวิถีชีวิตชาวบ้าน สมิธโซเนียน 2007

ยินดีต้อนรับ

เรียน ทุกท่าน

ขอต้อนรับสู่เทศกาลวิถีชีวิตชาวบ้าน สมิธโซเนียน ปี 2007 เรายินดีที่ท่านมาร่วมแบ่งปันความรู้เกี่ยวกับประเพณีพื้นบ้านของท่านสู่สาธารณะ เราเชื่อว่าการสาธิตและการแสดงอันน่าประทับใจของท่านจะทำให้เทศกาลในปีนี้เป็นที่จดจำตลอดไป

โปรดอ่านคู่มือนี้อย่างละเอียด เพราะจะให้คำตอบแก่ท่านเกี่ยวกับการพักอยู่ในวอชิงตันดีซี เราหวังว่าท่านจะร่วมงานเทศกาลอย่างเพลิดเพลินและพึงพอใจ เราจะทำทุกอย่างเท่าที่จะทำได้เพื่อให้ท่านพักอยู่ในวอชิงตันดีซีอย่างราบรื่น หวังว่าทุกท่านจะได้รับประสบการณ์อันรื่นรมย์และน่าจดจำ หากมีข้อสงสัยอื่นใดกรุณาติดต่อเรา

ขอแสดงความนับถือ
ไดอาน่า พาร์คเกอร์
ผู้อำนวยการงานเทศกาลวิถีชีวิตชาวบ้าน สมิธโซเนียน

เอลิซ่า ชิฟฟ์
ผู้ประสานงานผู้เข้าร่วมเทศกาล
โทร. 202-633-6522 ก่อนงานเทศกาล
โทร. 703-524-6400 ระหว่างงานเทศกาล
สำนักงานที่โรงแรม ห้องหมายเลข 153








สิ่งที่ควรรู้ก่อนมาถึง

งานเทศกาลวิถีชีวิตชาวบ้าน สมิธโซเนียน ปี 2007
เทศกาลวิถีชีวิตชาวบ้านสมิธโซเนียนปี 2007 เป็นงานประจำปีที่จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองวัฒนธรรมพื้นบ้าน และมีผู้เข้าชมกว่าล้านคน ในปีนี้งานเทศกาลจะมี 3 โปรแกรม คือ “แม่น้ำโขง : เชื่อมสายใยวัฒนธรรม”, “ไอร์แลนด์เหนือ คือ สมิธโซเนียน” และ “รากฐานของวัฒนธรรมเวอร์จิเนีย” ภายในงานจะมีเวทีดนตรี (ทั้งขนาดใหญ่และเล็ก พร้อมพื้นที่บางส่วนสำหรับเต้นรำ) พื้นที่กิจกรรมเชิงปฏิบัติการ พื้นที่สาธิตงานช่างและอาชีพ ครัว และบรรยากาศพิเศษอื่นๆ (รวมถึงร้านขายอาหาร และร้านขายสินค้า) เพื่อให้ผู้ที่มาชมได้เพลิดเพลินกับประเพณีต่างๆ ของโปรแกรมการจัดงานในครั้งนี้
เทศกาลวิถีชีวิตชาวบ้าน สมิธโซเนียน ปี 2007 จะจัดขึ้นในวันพุธที่ 27 มิถุนายน จนถึงวันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม จากนั้นหยุดพัก 2 วัน และเปิดอีกครั้งในวันพุธที่ 4 กรกฎาคม จนถึงวันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม งานจัดขึ้น ณ บริเวณแนชันนัล มอลล์ (National Mall) สวนสาธารณะขนาดใหญ่ที่รายรอบไปด้วยต้นไม้ นับจากบริเวณตึกแคปิตอล (the United States Capitol) ไปจนถึงอนุสาวรีย์วอชิงตัน งานเทศกาลเปิดให้สาธารณชนเข้าชมโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ตั้งแต่เวลา 11.00 น. จนถึง 17.30 น. ส่วนกิจกรรมยามเย็นที่จัดขึ้นบริเวณงานจะเริ่มเวลา 18.00 น. และอาจมีไปจนถึงเวลา 21.00 น. ในระหว่างวันจะมีเต็นท์อำนวยการอยู่ในบริเวณจัดงาน เพื่อให้ท่านได้พักผ่อน รับประทานอาหารกลางวัน และพบปะสังสรรค์กับผู้อื่น

* งานเทศกาลจะหยุดพักชั่วคราวในวันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม และวันอังคารที่ 3 กรกฎาคม

ฤดูร้อนในวอชิงตัน ดีซี
· อุณหภูมิเฉลี่ยในฤดูร้อน – วอชิงตัน ดีซี มีอากาศร้อนชื้นในช่วงฤดูร้อน อุณหภูมิเฉลี่ยเริ่มที่ประมาณ 31 องศาเซลเซียส และมีความชื้นสัมพัทธ์สูง 90 ถึง 100 เปอร์เซ็นต์
· เครื่องแต่งกายที่เหมาะสม – การแต่งกายในงานเทศกาลมีลักษณะไม่เป็นทางการ และผู้เข้าร่วมงานเทศกาลมักสวมใส่ชุดที่เคยสวมใส่ที่บ้านในการทำกิจกรรมบริเวณงาน เราขอแนะนำให้ท่านเตรียมสิ่งของที่อาจจะเป็นประโยชน์ ได้แก่
o หมวก หรือที่คลุมศีรษะ
o แว่นตากันแดด
o ที่บังแดด
o รองเท้าที่สวมใส่สบาย
o เสื้อกันฝน หรือ ร่ม
o เสื้อแจ็คเก็ตบางๆ หรือ เสื้อคลุม
o ชุดว่ายน้ำ หากท่านต้องการว่ายน้ำในสระของโรงแรม
o ชุดสำหรับงานเลี้ยงต้อนรับและงานโอกาสพิเศษอื่นๆ
· รักษาร่างกายให้สดชื่น – เราขอแนะนำว่า ตลอดทั้งวัน ท่านควรดื่มน้ำ หรือเครื่องดื่มอื่นๆ ที่ทำให้สดชื่น (เช่น เครื่องดื่มเกลือแร่) มากกว่าเครื่องดื่มประเภทที่มีแอลกอฮอล์ คาเฟอีน หรือน้ำตาล ในงานเทศกาลได้จัดน้ำดื่มไว้บริการบริเวณเต็นท์อำนวยการ และเวทีการแสดงต่างๆ ตลอดจนมีตู้จำหน่ายเครื่องดื่มอื่นๆ ด้วย
· อากาศแปรปรวน – อาจเกิดพายุสายฟ้า (Thunder storm) ที่รุนแรงจนต้องปิดงาน หากเกิดกรณีนี้ขึ้น เพื่อความปลอดภัยของท่าน ควรออกจากบริเวณงานและเข้าไปหลบในพิพิธภัณฑ์ของสมิธโซเนียนที่อยู่ใกล้เคียงหรือเข้าไปในสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินหากพิพิธภัณฑ์ปิด

การเดินทางสู่วอชิงตัน ดีซี
· โดยเครื่องบิน
o การเช็คอินที่สนามบินเมื่อเดินทางมาถึง - เนื่องจากมีมาตรการใหม่ด้านความปลอดภัย เราขอแนะนำให้ทุกท่านมาถึงสนามบินก่อนเวลาเดินทางอย่างน้อย 90 นาที สำหรับเที่ยวบินในประเทศ และ 2 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย สำหรับเที่ยวบินระหว่างประเทศ
§ พลเมืองสหรัฐฯ ที่เดินทางภายในประเทศจะต้องนำบัตรประจำตัวที่มีรูปถ่ายติด เช่น ใบขับขี่หรือหนังสือเดินทางมาแสดงกับสายการบินด้วย
§ หากท่านเดินทางมาจากต่างประเทศ ท่านต้องนำหนังสือเดินทาง, ตั๋วเครื่องบินและเอกสารยืนยันอื่นๆ มาด้วย
o สัมภาระ – ผู้โดยสารได้รับอนุญาตให้นำกระเป๋าเข้าใต้ท้องเครื่องได้ 2 ใบ และนำติดตัวขึ้นบนเครื่องได้ 1 ใบ* ตรวจสอบให้มั่นใจว่าท่านไม่ได้ใส่ของมีคมใดๆ ในกระเป๋าที่ถือติดตัว
o การรักษาความปลอดภัยในสนามบิน – เพื่อหลีกเลี่ยงเครื่องตรวจจับโลหะ กรุณานำวัตถุที่เป็นโลหะทุกชนิดออกจากกระเป๋า เสื้อและกางเกง และเตรียมถอดรองเท้าของท่าน
o เมื่อมาถึงวอชิงตันดีซี –ตัวแทนของสมิธโซเนียนจะไปรอรับ และนำท่านมายังโรงแรม
· โดยรถไฟ – หากท่านเดินทางโดยรถไฟ จะมีตัวแทนของสมิธโซเนียนไปรอรับที่สถานีและจะพาท่านมาส่งที่โรงแรม
· โดยรถยนต์ – หากท่านวางแผนที่จะขับรถส่วนตัวมาที่วอชิงตันดีซี เราจะจัดส่งแผนที่เดินทางมายังโรงแรม จะออกบัตรที่จอดรถให้

* กรุณาตรวจสอบกับสายการบินของท่านล่วงหน้าเพื่อรับทราบนโยบายล่าสุด


ระหว่างที่ท่านพำนักในวอชิงตัน ดีซี

โรงแรมที่พัก
ท่านจะพักอยู่ที่โรงแรมคีย์บริดจ์แมริออท ในอาร์ลิงตัน เวอร์จิเนีย ใช้เวลา 10 นาที ในการเดินทางไปยังสถานที่จัดงานเทศกาล (ในช่วงที่ไม่ใช่เวลาเร่งด่วน)

Key Bridge Marriott Hotel
1401 Lee Highway
Arlington, Virginia 22209
โทรศัพท์: 703-524-6400, 1-800-228-9290

สำนักงานเจ้าหน้าที่สมิธโซเนียน : ห้องหมายเลข 153

· เมื่อมาถึงโรงแรม ท่านต้องเช็คอินกับเจ้าหน้าที่ของสมิธโซเนียนเท่านั้น ไม่ใช่ กับพนักงานต้อนรับของโรงแรมแมริออท เจ้าหน้าที่จะประจำอยู่ที่ห้อง 153 ใกล้ล็อบบี้ ท่านจะได้รับคีย์การด์ ป้ายชื่อ และข้อมูลอื่นที่สำคัญจากเจ้าหน้าที่สมิธโซเนียน อาสาสมัครและพนักงานยกกระเป๋าของโรงแรมจะช่วยนำสัมภาระไปส่งโดยไม่คิดค่าบริการ
· ห้องพัก – หากท่านไม่พอใจกับห้องพักที่ได้ เจ้าหน้าที่อาจจะสามารถเปลี่ยนห้องที่สะดวกขึ้นให้ท่าน กรุณาแจ้งกับ ลิซ่า พาสก้า ผู้ประสานงานด้านที่พักที่ห้องหมายเลข 153 หรือติดต่อไปที่โทรศัพท์มือถือ ซึ่งจะแจ้งให้ท่านทราบในจดหมายฉบับต่อไป กรุณาอย่าแจ้งพนักงานโรงแรมเพื่อเปลี่ยนห้องหรือเพื่อนร่วมห้องให้ท่าน เจ้าหน้าที่สมิธโซเนียนจะทำการเปลี่ยนห้องให้แก่ท่าน เพื่อรับทราบหมายเลขห้องของท่านในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน
· คีย์การ์ด – ท่านจะได้รับคีย์การ์ดเพื่อใช้เปิดห้องของท่าน ในกรณีที่ท่านไม่เคยใช้มาก่อน เจ้าหน้าที่จะสาธิตวิธีใช้ให้แก่ท่าน หากท่านใส่คีย์การ์ดผิดหรือลืมทิ้งไว้ในห้อง ซึ่งปิดล็อกไปแล้ว ท่านสามารถขอคีย์การ์ดใหม่ได้จากฝ่ายบริการของโรงแรมหรือแจ้งเจ้าหน้าที่งานเทศกาลสมิธโซเนียน ที่ห้องหมายเลข 153
· เพื่อความบันเทิงของท่าน ทางโรงแรมมีสระว่ายน้ำ ศูนย์ออกกำลังกายไว้บริการโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 06.00 น. ถึง 23.30 น. ส่วนบริการภาพยนตร์ในห้องพักและบริการอื่นๆ ต้องเสียค่าธรรมเนียม ก่อนที่จะใช้บริการท่านต้องวางมัดจำหรือบัตรเครดิต
· โทรศัพท์ – ทุกห้องมีโทรศัพท์ 1 เครื่อง ท่านจะโทรออกภายนอกได้ต่อเมื่อท่านวางมัดจำเงินสดหรือบัตรเครดิตไว้ที่ฝ่ายบริการห้องพักของโรงแรม คิดค่าโทรภายในวอชิงตันครั้งละ 1 ดอลล่าร์ เพื่อหลีกเลี่ยงค่าบริการราคาแพง ท่านสามารถใช้เครื่องโทรศัพท์สาธารณะที่บริเวณห้องโถงชั้นล่างได้ ค่าโทรภายในวอชิงตันครั้งละ 50 เซ็นต์ ท่านจะต้องกดรหัสพื้นที่และตามด้วยหมายเลขโทรศัพท์
· มีบริการอินเตอร์เน็ตที่ศูนย์ธุรกิจของโรงแรม แต่อัตราค่าบริการแพง หากท่านนำคอมพิวเตอร์ส่วนตัวมา สามารถขอใช้บริการอินเตอร์เน็ตไร้สาย (wireless) จากทางโรงแรมได้โดยเสียค่าใช้จ่ายเอง เราเสียใจที่ไม่สามารถอนุญาตให้ท่านใช้คอมพิวเตอร์ของเจ้าหน้าที่เทศกาลที่ห้อง 153 และบริเวณจัดงานเทศกาลได้ และที่วอชิงตันไม่มีอินเตอร์เน็ตคาเฟ่บริการ
· การซักรีด - มีเครื่องซักผ้าและเครื่องอบผ้าหยอดเหรียญตั้งอยู่ในโรงแรม ซึ่งท่านต้องหยอดเงิน 1.50 ดอลล่าร์ ต่อการซักผ้าหนึ่งครั้ง และหยอดเพิ่มอีก 1.50 ดอลล่าร์ สำหรับการอบแห้ง
· แม่บ้านของโรงแรมจะทำความสะอาดห้องของท่านทุกวัน ท่านสามารถขอผ้าเช็ดตัว สบู่ เตารีด ที่รองรีด และของจำเป็นอื่นๆ ได้จากแผนกแม่บ้านโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยโทรขอจากห้องพักของท่านโดยไม่เสียค่าโทรฯ
· หากท่านต้องการความเป็นส่วนตัว กรุณาแขวนป้าย “ห้ามรบกวน”(Do Not Disturb) ไว้ที่หน้าประตู

ป้ายชื่อ
เราจะจัดเตรียมป้ายชื่อให้ท่านเพื่อสะดวกต่อการพบปะเพื่อนใหม่และจดจำผู้คน เราขอให้ท่านติดป้ายชื่อทั้งที่งานเทศกาลและที่โรงแรม โดยเฉพาะที่โรงแรม ป้ายชื่อเป็นสิ่งสำคัญมากเพราะจะใช้เป็นบัตรผ่านในการเข้าไปรับประทานอาหาร อาสาสมัครและเจ้าหน้าที่งานเทศกาลก็จะติดป้ายชื่อตลอดเวลาเช่นกัน หากท่านทำป้ายชื่อหาย กรุณาแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบเพื่อจัดหาป้ายใหม่ให้


อาหาร
ในแต่ละวัน เราจัดอาหารเช้าและอาหารเย็นไว้บริการท่านที่โรงแรมคีย์บริดจ์แมริออท ส่วนอาหารกลางวันหาทานได้จากเต็นท์ขายอาหารในงานเทศกาล (ยกเว้นวันหยุดพักในวันที่ 2 ก.ค.และ 3 ก.ค. จะบริการอาหารกลางวันให้ท่านที่โรงแรม) ท่านจะต้องแขวนป้ายชื่อเมื่อเข้าไปในบริเวณห้องอาหารมื้อเย็น ท่านต้องแสดงบาร์โค้ดที่ด้านหลังของป้ายชื่อเมื่อเข้าทานอาหารในโรงแรม อาหารจัดไว้ในลักษณะบุฟเฟ่ต์ ท่านสามารถรับประทานได้มากเท่าที่ต้องการ แต่ไม่ควรนำอาหารกลับไปยังห้องพัก ผู้ประสานงานฝ่ายห้องพัก หรือเจ้าหน้าที่อื่นจะอยู่ที่บริเวณทางเข้าห้องอาหารมื้อเย็น เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ท่าน

สถานที่รับประทานอาหารของโรงแรม และช่วงเวลา :
q อาหารเช้าจะจัดไว้ที่ห้องโปโตแมคบอลรูม ชั้นล่างของโรงแรม ตั้งแต่เวลา 7.00 – 9.00น.
q อาหารเย็นจะจัดไว้ที่ห้องโปโตแมคบอลรูม ตั้งแต่เวลา 18.00 - 20.00 น.
q อาหารกลางวัน ในวันที่ 2 และ 3 กรกฎาคม จะจัดไว้ที่ห้องโปโตแมคบอลรูม ตั้งแต่เวลา 12.00 - 14.00 น.

ระหว่างเทศกาล ท่านสามารถเลือกรับประทานอาหารจากเต็นท์ขายอาหารในงานเทศกาล โดยท่านจะได้รับแจกบัตรอาหารกลางวัน เพื่อนำไปเลือกซื้ออาหารตามความพอใจ บัตรอาหารกลางวันแบ่งเป็นบัตรมูลค่า 1 หรือ 5 เหรียญ ท่านจะได้บัตรมูลค่ารวม 11 เหรียญต่อวัน บัตรนี้ไม่สามารถแลกคืนเป็นเงินสดได้ ที่เต็นท์ขายอาหารจะจัดช่องแยกเฉพาะไว้สำหรับเจ้าหน้าที่และผู้เข้าร่วมเทศกาล กรุณาแขวนป้ายชื่อเพื่อเข้าคิวในช่องพิเศษนี้ ท่านสามารถเลือกรับประทานอาหารตามเวลาที่ท่านสะดวก เจ้าหน้าที่สมิธโซเนียนและอาสาสมัครจะคอยดูแลบริเวณเต็นท์สาธิตให้ ในขณะที่ท่านพักรับประทานอาหาร
มีการจัดคอนเสิร์ตในช่วงเย็น ส่วนใหญ่จะเริ่มเวลา 18.00 น. ท่านสามารถอยู่และสนุกสนานกับคอนเสิร์ตยามเย็นได้ อย่างไรก็ตาม หากท่านไม่กลับไปทานอาหารเย็นที่โรงแรมก่อน 20.00 น. ท่านจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการซื้ออาหารเย็นทานเอง (จะมีการจัดเตรียมอาหารเย็นไว้สำหรับนักดนตรีและคณะที่แสดงคอนเสิร์ตในคืนนั้นๆ แต่ไม่ได้จัดเตรียมไว้ให้ผู้ที่มาชม)

การเดินทางภายในวอชิงตัน ดีซี
· ระหว่างงานเทศกาล จะจัดรถบัสโดยสารไว้บริการรับ-ส่งท่าน จากโรงแรมไปยังสถานที่จัดงานโดยไม่คิดค่าบริการ ในช่วงเช้าเริ่มตั้งแต่เวลา 8.30 น. จนถึง 11.00 น. และในตอนบ่าย เริ่มตั้งแต่เวลา 16.30 –19.30 น. หากท่านจำเป็นต้องเดินทางจากโรงแรมไปยังเทศกาลในช่วงเวลา 11.30-16.30 น. จะมีรถตู้โดยสารไว้บริการทุกๆ ครึ่งชั่วโมง เริ่มจากเวลาเที่ยง และจะมีรถไว้บริการสำหรับกลุ่มที่ต้องแสดงคอนเสิร์ตในช่วงเย็นด้วย
· ที่บริเวณงาน พึงระลึกไว้ว่าบริเวณที่จัดงานเทศกาลมีขนาดกว้างใหญ่ ดังนั้นท่านจะต้องเดินเป็นระยะทางไกลพอสมควรในระหว่างวัน หากท่านต้องการความช่วยเหลือขณะที่อยู่ในบริเวณงาน กรุณาแจ้งเจ้าหน้าที่เพื่อใช้บริการรถขนส่งไฟฟ้า หรือท่านอาจใช้บริการรถบัส (DC circulator bus) ที่วิ่งวนรอบบริเวณงาน กรุณาดูรายละเอียดด้านล่างเกี่ยวกับคำอธิบายเรื่องรถสาธารณะชนิดนี้
· การขับรถ – ท่านจำเป็นต้องใช้รถบริการจากโรงแรมมายังที่จัดงานเทศกาล เนื่องจากไม่มีที่จอดรถในบริเวณงาน แต่ท่านสามารถขับพาหนะส่วนตัวมาเพื่อส่งของหนักในบริเวณงานได้ในวันก่อนเปิดงานเทศกาล และมาเก็บของ หลังปิดงานเทศกาลแล้ว ยานพาหนะใดที่เข้ามาในบริเวณแนชันนัล มอลล์ (National Mall) โดยไม่มีใบอนุญาติอาจถูกติดตราและลากออกจากบริเวณได้ กรุณาแจ้งให้เราทราบหากท่านต้องการนำยานพาหนะมา
· เมโทร (Metro) – เมโทรเป็นระบบขนส่งสาธารณะของวอชิงตันซึ่งมีบริการทั้งรถบัสและรถไฟใต้ดิน นับเป็นหนทางที่สะดวกและประหยัดในการเที่ยวชมเมืองในยามว่างของท่าน
o ตำแหน่งที่ตั้ง – บริเวณที่จัดงานเทศกาลอยู่ใกล้สถานีรถไฟใต้ดินสมิธโซเนียน (สายสีน้ำเงิน/ สายสีส้ม) ซึ่งอยู่ในระยะที่เดินไปยังสถานีลองฟองพลาซ่า (L’Enfant Plaza) สถานีเฟเดอรัลเซ็นเตอร์ (Federal Center) (สายสีน้ำเงิน/ส้ม) และสถานีอาร์ไคฟ์ (Archives)(สายสีเหลือง/เขียว)ได้ ส่วนโรงแรมตั้งอยู่ห่างจากสถานีรถไฟใต้ดินรอสลีน (Rosslyn)(สายสีน้ำเงิน/ส้ม) ใช้เวลาเดิน 5 นาที และยังมีรถเมล์สาธารณะที่ต้องจ่ายค่าบริการด้วย (กรุณาดูรายละเอียดด้านล่าง)
o ชั่วโมงทำการ – ระบบรถไฟใต้ดินเปิดให้บริการในวันจันทร์ถึงศุกร์ ตั้งแต่เวลาตี 5 จนถึงเที่ยงคืน ในวันศุกร์เปิดตั้งแต่ตี 5 จนถึง ตี 3 วันเสาร์เปิดเวลา 7 โมงเช้าถึงตี 3 และวันอาทิตย์เปิด 7 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน
o ค่าโดยสาร และข้อมูล –อัตราค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 1.35 ดอลล่าร์ ไปจนถึง 3.90 ดอลล่าร์ ขึ้นอยู่กับระยะทาง พลเมืองอาวุโส (อายุ 65 ปีขึ้นไป) และผู้พิการที่มีบัตรประจำตัวติดรูปถ่าย หรือบัตรบริการสุขภาพ สามารถแสดงบัตรที่ระบุที่อยู่และวันเกิดเพื่อขอลดค่าโดยสารได้ บัตรโดยสารราคาพิเศษสำหรับผู้สูงอายุและผู้พิการมีจำหน่ายที่สถานเฉพาะ ซึ่งเจ้าหน้าที่จะมีรายชื่อสถานีเหล่านี้อยู่ ท่านสามารถขอรับแผนที่เส้นทางรถไฟใต้ดินได้ที่สำนักงาน หรือโทรศัพท์ไปสอบถามเส้นทางและข้อมูลต่างๆ ได้โดยตรงที่หมายเลข 202-637-7000
o รถไฟใต้ดินสำหรับการเที่ยวชมเมือง – จากสถานีรอสลีน สามารถไปถึงสถานที่น่าสนใจหลายแห่งในวอชิงตัน ดีซี ได้อย่างรวดเร็ว อาทิ สุสานอาร์ลิงตัน (ลงที่สถานี Arlington Cemetry) ตึกแคปิตอล และหอสมุดรัฐสภา (ลงที่สถานี Capitol South) สวนสัตว์แห่งชาติ (ลงที่สถานี Woodley Park-Zoo) และพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ของสมิธโซเนียน (ลงที่สถานีสมิธโซเนียน)
รถรับ-ส่ง
มีบริการรถรับ-ส่งสาธารณะ ที่ให้บริการโดย “จอร์จทาวน์ เมโทร คอนเนคเทอร์” (Georgetown Metro Connector) ซึ่งให้บริการรับ-ส่ง ตามจุดต่างๆ คือ สถานีรถใต้ดินรอสลีน (Rosslyn Metro Station), จอร์จทาวน์ (Georgetown) และสถานีรถใต้ดินดูปงต์ เซอร์เคิล (Dupont Circle Station) อัตราค่าโดยสารเที่ยวละ 1 ดอลล่าร์ และ 35 เซ็นต์ สำหรับการเดินทางโดยรถใต้ดิน
วันจันทร์ - พฤหัสบดี ให้บริการตั้งแต่เวลา 7 โมงเช้า - เที่ยงคืน
วันศุกร์ ให้บริการตั้งแต่เวลา 7 โมงเช้า - ตี 2
วันเสาร์ ให้บริการตั้งแต่เวลา 8 โมงเช้า - ตี 2
วันอาทิตย์ ให้บริการตั้งแต่เวลา 8 โมงเช้า – เที่ยงคืน

ทั้งนี้ รถรับ-ส่ง สาธารณะเส้นทางดังกล่าวจะหมุนเวียนหยุด รับ-ส่ง ผู้โดยสารที่จุดจอดโรงแรมคีย์ บริดจ์ แมร์ริออทท์ (Key Bridge Marrioot) ทุกๆ 15 นาที

เส้นทางเดินรถโดยสารประจำทาง ใน ดีซี
ในเขตเมืองดีซี ประกอบด้วยเส้นทางเดินรถประจำทาง จำนวน 3 สาย โดยหนึ่งในจำนวนเส้นทางเดินรถดังกล่าวได้แก่ สาย “แนชันนัล แกลเลอรี และ สมิธโซเนียน ลูป” (National Gallery & Smithsonian Loop) ซึ่งมีเส้นทางให้บริการรอบบริเวณแนชันนัล มอลล์ (National Mall) (หรือ สนามหลวงแห่ง วอชิงตัน ดี.ซี) ท่านที่ต้องการไปชมพิพิธภัณฑ์ตลอดจนอนุสาวรีย์ หรือสถานที่สำคัญๆ ในพื้นที่โดยรอบแนชันนัล มอลล์ สามารถใช้บริการรถประจำทางสายนี้ได้ โดยเสียค่าโดยสารเที่ยวละ 1 ดอลล่าร์ (แต่พลเมืองอเมริกันสูงอายุจ่ายคนละ 50 เซ็นต์ ต่อเที่ยว)
อย่างไรก็ตาม ภายในช่วงเวลา 2 ชั่วโมง สามารถสลับไปใช้บริการรถใต้ดิน โดยแจ้งกับพนักขับรถ ทั้งนี้ อัตราค่าบริการสำหรับรถใต้ดินคือเที่ยวละ 35 เซ็นต์ และในกรณีเปลี่ยนมาใช้บริการรถเมโทรบัสหรือรถโดยสารประจำทางไม่ต้องเสียค่าบริการ
รถโดยสารประจำทางให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 10 โมงเช้า – ตี 4 โดยจะมีรถออกทุกๆ 10 นาที ท่านสามารถขอรับแผนที่แสดงเส้นทางเดินรถได้ ณ โรงแรมที่พัก

การพบปะสังสรรค์ในตอนเย็นของแต่ละวัน
สมาคมวิถีชีวิตพื้นบ้านแห่งเกรทเทอร์ วอชิงตัน (the Folklore Society of Greater Washington) จะเป็นเจ้าภาพจัดให้มีการพบปะสังสรรค์กันทุกเย็นของแต่ละวัน ณ ห้อง โปโตแมค บอลรูม (Potomac Ballroom)หลังจากรับประทานอาหารเย็นเสร็จเรียบร้อยแล้ว ที่ห้องดังกล่าวจะมีอาหารว่างและเครื่องดื่มไว้บริการ
ช่วงเวลานี้จึงเป็นเวลาสำหรับการพักผ่อนตามอัธยาศัยสำหรับทุกท่าน และเป็นโอกาสที่จะได้พูดคุยทำความรู้จักคุ้นเคยกัน สำหรับท่านที่เป็นนักดนตรีสามารถนำเครื่องดนตรีพื้นบ้านของท่านมาเล่นสร้างความครึกครื้นในช่วงเวลาพักผ่อนนี้ได้
นอกจากนั้น ในช่วงเวลาของงานเทศกาลจะมีงานเลี้ยงอย่างเป็นทางการ 2 ครั้ง จัดเลี้ยง ณ ห้องโปโตแมค บอลรูม เช่นกัน
งานเลี้ยงอย่างเป็นทางการครั้งแรกคือวันที่ 1 กรกฎาคม และงานเลี้ยงเป็นทางการครั้งที่สอง คือวันที่ 8 กรกฎาคม ซึ่งเป็นวันปิดงานเทศกาล

วันพักผ่อน
ทุกท่านจะมีวันหยุดในวันที่ 2 และ 3 กรกฎาคม (ซึ่งเป็นสองวันที่งานเทศกาลก็จะหยุดชั่วคราวเช่นกัน) ในวันหยุดดังกล่าวเราจะพาท่านเที่ยวชมในเขตเมืองวอชิงตัน ดีซี

การประกอบศาสนกิจหรือกิจกรรมบางประการตามวิถีชีวิตพื้นบ้านของท่าน
ผู้ประสานงานของสถาบันสมิธโซเนียน จะจัดเตรียมรายชื่อร้านอาหาร ร้านค้า รวมทั้งสถานให้บริการต่างๆ ตลอดจนสถานที่สำหรับการประกอบศาสนกิจเช่น การสวดมนต์ไหว้พระ สำหรับทุกท่าน ทั้งนี้ ท่านสามารถแจ้งความประสงค์ขอรับรายชื่อสถานที่ต่างๆได้ ที่สำนักงานชั่วคราวผู้ประสานงานเทศกาล (Participant Office) คือ ห้องหมายเลข 153 ภายในโรงแรมที่พัก



ข้อมูลอื่น ๆ

บริการทางการแพทย์
· ประกันสุขภาพ - ท่านใดที่ทำประกันสุขภาพอยู่แล้วกับบริษัทประกันสุขภาพหรือบริการทางการแพทย์ใดๆกรุณานำบัตรแสดงสิทธิของท่านติดตัวมาด้วย ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยท่านจะได้รับการดูแลโดยการใช้สิทธิจากบริการประกันสุขภาพที่ท่านมีอยู่เป็นอันดับแรก ดังนั้น โปรดให้ข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิการรับบริการประกันสุขภาพหรือบริการทางการแพทย์ของแต่ละท่านกับผู้ประสานงานเทศกาลจากสถาบันสมิธโซเนียน ซึ่งจะประจำอยู่ที่สำนักงานชั่วคราว ห้องหมายเลข 153 ณ โรงแรมที่พัก
· ประกันอุบัติเหตุ - ภายในช่วงเวลาที่ทุกท่านเดินทางไปถึงและพักอยู่ในเมืองวอชิงตัน ดีซี เพื่อร่วมงานเทศกาลครั้งนี้ สถาบันสมิธโซเนียนได้ทำ “ประกันอุบัติเหตุ” สำหรับทุกท่าน อย่างไรก็ตาม สิทธิการประกันอุบัติเหตุดังกล่าว จะไม่ครอบคลุมกรณีค่าใช้จ่ายสำหรับอาการเจ็บป่วยที่ท่านมีอยู่ก่อนจะเดินทางถึงวอชิงตัน ดีซี แล้ว
· การรักษาพยาบาล - ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือท่านใดที่ต้องรับประทานยาชนิดใดก็ตามเป็นประจำ ขอให้ทุกท่านนำยาประจำตัวของท่านติดตัวไปให้ครบถ้วนเพียงพอ ทั้งนี้ ในพื้นที่จัดเทศกาลจะมีจุดให้บริการปฐมพยาบาลสำหรับทุกท่านในกรณีเล็กน้อยหรือไม่สาหัส แต่หากมีอาการสาหัสหรือรุนแรงท่านจะได้รับการนำส่งเข้ารับการรักษา ณ โรงพยาบาลที่อยู่ใกล้กับพื้นที่จัดเทศกาล

บริการสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ
· เก้าอี้มีล้อหรือรถเข็นสำหรับผู้สูงอายุหรือผู้พิการ มีไว้บริการ ณ โรงแรมที่พักและบริเวณพื้นที่จัดเทศกาล ซึ่งได้แก่เต็นท์อาสาสมัคร โดยจัดให้บริการตามลำดับก่อน-หลัง ของการแจ้งขอใช้บริการ หากท่านใดมีความประสงค์จะใช้รถเข็นหรือเก้าอี้มีล้อ ที่โรงแรมขอให้แจ้งล่วงหน้า 1 วัน เพื่อที่จะได้จัดเตรียมไว้ให้ท่าน
· กำหนดการและตารางกิจกรรมต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในงานเทศกาล ตลอดจนรายการเทปเสียง เป็นภาษาอังกฤษสามารถขอรับได้ที่เต็นท์อาสาสมัครและบูธข้อมูลต่างๆ
· สำหรับท่านที่ต้องการเครื่องช่วยฟัง เรามีอุปกรณ์ดังกล่าวไว้ให้บริการบริเวณเวทีแสดงดนตรี
· สัญลักษณ์สำหรับผู้พิการทางหู - ท่านที่มีปัญหาทางการได้ยินหรือผู้พิการทางหู จะได้รับบริการในการชมเทศกาลโดยการติดตั้งสัญลักษณ์พิเศษเพื่อให้ข้อมูลสำหรับรายการหรือตารางการแสดง ตลอดจนกิจกรรมต่างๆ โดยป้ายสัญลักษณ์เหล่านั้นจะติดตั้งไว้ใกล้ๆกับเวทีการแสดงหรือพื้นที่กิจกรรม

การดูแลทรัพย์สินและมาตรการความปลอดภัย
· ณ โรงแรมที่พัก
ถ้าท่านเกรงว่าทรัพย์สินและสิ่งของมีค่าของท่านจะสูญหาย เราแนะนำให้ท่านนำไปฝากเก็บรักษาไว้ในตู้นิรภัยของทางโรงแรม ซึ่งจัดไว้บริการทุกท่านโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย อย่างไรก็ตาม ทางโรมแรมไม่แนะนำให้ท่านทิ้งทรัพย์สินที่มีราคาสูง อาทิ วิทยุ กล้องถ่ายรูป หนังสือเดินทาง(พาสปอร์ต) ตลอดจนเงินสด ไว้ในห้องพักขณะที่ท่านไม่อยู่ในห้องพักหรือในโรงแรม
เพื่อความปลอดภัยของท่านระหว่างที่พักอยู่ในโรงแรม เมื่อท่านอยู่ภายในห้องพักกรุณาปิดล็อคประตูห้องให้สนิทพร้อมทั้งคล้องห่วงโซ่ด้านใน หากท่านจะออกไปข้างนอกหรือไม่อยู่ในห้องพักเป็นเวลานาน โปรดอย่าลืมล็อคประตูห้องให้สนิท ทั้งสถาบันสมิธโซเนียนหรือโรงแรมที่พัก จะไม่รับผิดชอบชดใช้ให้ท่านเด็ดขาด ในกรณีที่ทรัพย์สินหรือสิ่งของมีค่าของท่านเกิดการสูญหายหรือถูกลักขโมยภายในห้องพัก

· ณ พื้นที่จัดเทศกาล (แนชันนัล มอลล์)
มีการจัดเตรียมพื้นที่สำหรับรับฝากทรัพย์สินหรือสิ่งของมีค่าของท่านหลายจุด ภายในพื้นที่จัดเทศกาล มีตู้เก็บสัมภาระขนาดใหญ่หลายตู้สำหรับการเก็บรักษาอุปกรณ์หรือเครื่องมือเครื่องใช้สำหรับการสาธิตหรือการแสดงของท่าน ระหว่างเวลากลางวันและกลางคืน
ในระหว่างที่ท่านจะไม่อยู่ในพื้นที่แสดงกิจกรรมและไม่อยากนำอุปกรณ์ติดตัวกลับไปด้วย ท่านใดที่ต้องการฝากสิ่งของ เครื่องไม้เครื่องมือของท่าน กรุณาติดต่อแจ้งกับเจ้าหน้าที่ที่ดูแลการแสดงและการสาธิตกิจกรรมในจุดนั้นๆ อุปกรณ์และเครื่องมือของท่านจะได้รับการเฝ้ารักษาโดยอาสาสมัครดูแลความปลอดภัยอย่างดีเพื่อป้องกันการสูญหาย ทั้งนี้ ในแต่ละวันจะมีผู้คนมากมายเข้ามาในพื้นที่จัดเทศกาล เพื่อความปลอดภัยของทรัพย์สินทุกชนิดของท่าน โปรดอย่าลืมหรือวางสิ่งของของท่านทิ้งไว้โดยไม่มีผู้เฝ้าดูแล
อย่างไรก็ตาม จะมีพนักงานรักษาความปลอดภัยจากสถาบันสมิธโซเนียนและอุทยานแห่งชาติ ให้บริการดูแลความปลอดภัยระหว่างการจัดงานเทศกาลตลอดเวลาทั้งช่วงเวลากลางวันและกลางคืน หากทรัพย์สินหรือสิ่งของมีค่าของท่านใดสูญหาย ขอให้รีบแจ้งกับพนักงานดูแลความปลอดภัยดังกล่าวโดยทันที
ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่จัดเทศกาล ขอให้ท่านแจ้งกับเจ้าหน้าที่จัดงานเทศกาลที่อยู่ในจุดเกิดเหตุทันที หรือโทรศัพท์แจ้งเจ้าหน้าที่ผู้มีรายชื่อดังต่อไปนี้

- บาร์บาร่า สตริคแลนด์ (Barbara Strickland) โทร. 202-744-4919
- ร็อบ ชไนเดอร์ (Rob Schneider) โทร. 202-841-9751

การชดใช้ค่าเสียหาย
สถาบันสมิธโซเนียน ไม่สามารถรับผิดชอบหรือจัดบริการประกันภัยให้กับทรัพย์สินส่วนตัวของท่านได้ เพราะฉะนั้น ขอให้ทุกท่านจัดหีบห่อการบรรจุอุปกรณ์หรือเครื่องมือทุกชิ้นของท่าน อย่างแข็งแรง แน่นหนาเป็นพิเศษ เพื่อความปลอดภัยและป้องกันการเสียหายระหว่างการขนส่ง ทั้งนี้ สายการบินหรือไปรษณีย์สามารถแนะนำท่านได้ในเรื่องการจัดหีบห่อดังกล่าว ในการจัดงานเทศกาลที่ผ่านๆมา การประกันภัยให้กับทรัพย์สินส่วนตัวของแต่ละท่านเป็นความรับผิดชอบของตัวท่านเอง

เจ้าหน้าที่ประสานงานที่จะประจำอยู่ ณ โรงแรมที่พัก
สถาบันสมิธโซเนียนจัดเจ้าหน้าที่จากสถาบันฯ เพื่อทำหน้าที่ประสานงานประจำอยู่ที่สำนักงานชั่วคราว ณ โรงแรมที่พัก ตลอดระยะเวลาของการจัดงาน
· ที่ตั้งสำนักงานชั่วคราว
อยู่ภายโรงแรมที่พัก ห้องหมายเลข 153
เปิดทำการทุกวัน ระหว่างเวลา 7 โมงเช้า ถึง 4 ทุ่ม
โทร. 703-284-1450 (เบอร์นี้ใช้สำหรับการติดต่อระหว่างช่วงเวลาการจัดเทศกาล)

รายชื่อเจ้าหน้าที่ประสานงาน (เบอร์โทรศัพท์ที่ระบุกับชื่อของผู้ประสานงานแต่ละคน ใช้ติดต่อเฉพาะช่วงเวลาก่อนที่งานเทศกาลจะเริ่มขึ้นเท่านั้น)

เอลิซ่า ชิฟฟ์ (Aliza Schiff) ลิซ่า พาสก้า (Lisa Paska)
ผู้ประสานงานผู้เข้าร่วมงานเทศกาล ผู้ประสานงานเรื่องที่พัก
(Participant Coordinator) (Housing Coordinator)
โทร. 202-633-6522 โทร. 202-633-6528
schiff@si.edu paska@si.edu


กวีนเนธ แอนเดอร์สัน เอเลนา แอคเคอร์มาน (Gwynneth Anderson) (Alana Ackerman)
ผู้ประสานงานทั่วไป ผู้ประสานงานทั่วไป
โทร. 202-633-6524 โทร. 202-633-6523
andesong@si.edu ackermana@si.edu

ลอเรน เวนโทรบ (Lauren Weintraub)
ผู้ประสานงานทั่วไป
โทร. 202-633-6525
weintraub@si.edu
ลิซ บริดจ์ฟอร์ธ (Lyz Bridgforth)
ผู้ประสานงานทั่วไป
โทร. 202-633-7481
bridgforthe@si.edu

· ผู้ประสานงานที่ประจำอยู่ ณ สำนักงานชั่วคราว จะทำหน้าที่แจ้งข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตารางกำหนดการกิจกรรม การเดินทาง ตลอดจนโปรแกรมการเที่ยวชมเมืองวอชิงตันดีซี ท่านสามารถสอบถามและตรวจเช็คข้อมูลต่างๆเหล่านี้ได้จากเจ้าหน้าที่ที่สำนักงานชั่วคราวได้ทุกวัน
หลังเวลาทำการปกติแล้ว หากมีกรณีฉุกเฉินหรือเหตุการณ์ที่ต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วนในเวลากลางคืน ขอให้ท่านติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของโรมแรมที่บริเวณเคาน์เตอร์ต้อนรับส่วนหน้า (front desk) เพื่อให้เจ้าหน้าที่โรงแรมติดต่อมายังเจ้าหน้าที่ประสานงานเทศกาล

6/08/2007

Lanna music and performance - ศิลปะการแสดงและดนตรีล้านนา

Lanna music and performance
Viangchai, Chiang Rai

Performers
Mr. Manit CHAROENKASEMSAP, 50 yrs.
Mr. Porn LAPA, 60 yrs.
Mr. Thongdee KHRUEWONG, 52 yrs.
Mr. Duangdee PRAYONG, 61 yrs.
Ms. Inthira KAVINED, 18 yrs.
Mr. Peerapong DUANGCHOMPOO, 15 yrs.
In any festival of Lanna, the music of Salor Sor Seung can create entertainment all the times and provide stage for men and women to court by singing poetic verses and lyrics. Accompanied with the music, Lanna people adapted silk reeling activity to be one form of dance. The sound of beating Glong Sabadchai or victory celebration drum and tempo of reckless movement of Fon Daab (sword dance) and Fon Jerng (martial art dance) in any making merit festivals express the fantastic choreography of Northern Thai people.

..............................................................

ศิลปะการแสดงและดนตรีล้านนา
อ.เวียงชัย จ.เชียงราย

ผู้แสดง
นายมานิตย์ เจริญเกษมทรัพย์ อายุ ๕๐ ปี
นายพร ล้าปา อายุ ๖๐ ปี
นายทองดี เครือวงศ์ อายุ ๕๒ ปี
นายดวงดี ประโยง อายุ ๖๑ ปี
นางสาวอินทิรา กาวิเนตร อายุ ๑๘ ปี
นายพีระพงศ์ ด้วงชุมภู อายุ ๑๕ ปี


ไม่ว่างานบุญหรืองานใดๆ สะล้อ ซอ ซึง เป็นมหรสพที่สร้างความบันเทิงเริงใจให้ชาวล้านนามาทุกยุคทุกสมัย เป็นเวทีให้แม่หญิงพ่อชายป้อคำหวานผ่านคำซอ อีกฟ้อนสาวไหมที่แปลงกิจให้กลายเป็นท่ารำ บ้างมาจากการรบ ยามสงบเกิดเป็นท่ารำ อย่างกลองสะบัดชัยกระตุ้นให้คึกฮึกเหิม งานปอยคราใดตีรับเอาโชคเอาชัย ทั้งฟ้อนดาบฟ้อนเจิง ผสานเชิงการต่อสู้ด้วยมือเปล่าและอาวุธ ก้าวย่างแคล่วคล่องว่องไว ลายฟ้อนตามทางตั้งขันนบไหว้ วาดมือตามแม่ไม้ วาดลวดลายใส่ลูกเล่นให้เป็นศิลปะ

Isan Shadow Puppetry - หนังประโมทัย

Nang Pramotai
Isan Shadow Puppetry
Ban Tae, Roi-Et


Performers
Mr. Samorn PLISAK, 66 yrs.
Mr. Pramoon SRIBUT, 59 yrs.
Mr. Chumdet DETPIMON, 51 yrs.

Nang Pramotai, a form of shadow puppetry, in Isan has been influenced by shadow puppetry in the southern part of Thailand. Generally the troupe consists of puppeteers and musicians. Somehow the puppeteers would take turns to play the lute, Khaen, and small cymbal, while the troupe is performing.
Isan people have also adapted shadow puppetry to their regional culture, as reflected by regional names given to this form of performance (Nang Buktue, Nang Bukpoung – Bukkeaw). The localized form includes Mau Lam and local musical instruments, and it also uses Isan language in dialogues.The tradition can perform for every kind of ceremony such as the ceremony of ordaining Buddhist monks, merit of distributing rice, the new house celebration, funerals etc.
...................................................................


หนังประโมทัย
บ้านแต้ จ. ร้อยเอ็ด


ผู้แสดง
นายสมร พลีศักดิ์ อายุ ๖๖ ปี
นายประมูล ศรีบุตร อายุ ๕๙ ปี
นายชุมเดช เดชภิมล อายุ ๕๑ ปี

หนังประโมทัยได้รับอิทธิพลจากการแสดงหนังตะลุงภาคใต้ของไทย โดยทั่วไป คณะแสดงประกอบด้วยนายหนังและนักดนตรี แต่ในบางครั้ง นายหนังก็สามารถเป็นผู้เล่นดนตรีสลับกันไปได้เช่นกัน
คนอีสานได้ปรับหนังตะลุงให้เข้ากับวัฒนธรรมพื้นถิ่น ดังจะเห็นได้จากชื่อเรียกในภาษาอีสานว่า “หนังบักตื้อ” หรือ “หนังบักป่อง บักแก้ว” นอกจากนี้ ยังมีการใช้หมอลำ ดนตรีท้องถิ่นประกอบ และบทสนทนาที่เป็นภาษาอีสาน
ชาวบ้านจะจ้างคณะแสดงหนังประโมทัยในงานต่างๆ ตั้งแต่งานบวช งานทำบุญ งานขึ้นบ้านใหม่ และงานศพ

Pong Lang Isan Music Ensemble

Pong Lang Isan Music Ensemble
Mahasarakham and Roi-et

Performers
Mrs. Kitsana WANNASUT, 55 yrs.
Mr. Sam-Ang JIANGKUM, 55 yrs.
Mr. Acha PHALI, 23 yrs.
Mr. Decha BOONG-U-TOOM, 28 yrs.
Mr. Pongtorn PANPHAD, 26 yrs.
Mr. Nutthanun IMSOMBUT, 26 yrs.
Mr. Resuan PERIN, 24 yrs.
Mr. Narakorn KHAMSOPA, 26 yrs.

This tradition is an indigenous music of Isan. “Moh Lam” has variety of repartees, rhythms and also solo singing/verse. “Pong Lang” or wooden xylophone, in the past, used to be a simple percussion instrument for villagers. It’s made of local wood found in the field or woods. The villagers tapped it when they went to rice fields. In 1983, an actual Pong Lang form was created. Pong Lang ensemble consists of xylophone, steam whistle, month organs, drum and double string instrument. This music tradition is performed in different events such as housewarming, ordination rite, wedding…Not only were words of verse entertaining, but they also taught morals and social expectations.

................................................................................
วงโปงลางและหมอลำ
จ.มหาสารคาม และ จ.ร้อยเอ็ด

ผู้แสดง
นางกฤษณา วรรณสุทธิ์ อายุ ๕๕ ปี
นายสำอาง เจียงคำ อายุ ๕๕ ปี
นายเดชา บุ่งอุทุม อายุ ๒๘ ปี
นายอาชา พาลี อายุ ๒๓ ปี
นายพงศ์ธร พันธุ์ผาด อายุ ๒๖ ปี
นายณัฎฐนันทร์ เอมสมบัติ อายุ ๒๖ ปี
นายเรศวร เปรินทร์ อายุ ๒๔ ปี
นายนรากร คำโสภา อายุ ๒๖ปี

หมอลำและโปงลางเป็นดนตรีพื้นถิ่นอีสาน “หมอลำ” มีลักษณะท่วงทำนองที่หลากหลาย ทั้งการร้องโต้ ลำเดี่ยว ส่วน “โปงลาง” เคยเป็นเครื่องเคาะจังหวะง่ายที่ทำจากไม้ตามป่าและทุ่งนา ชาวบ้านจะเล่นโปงลางในระหว่างออกไปทำนา เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๖ วงโปงลางได้พัฒนาเป็นรูปแบบการแสดงเช่นในปัจจุบัน วงโปงลางประกอบด้วยโปงลาง แคน โหวด กลอง และพิณ วงโปงลางและหมอลำจะแสดงในโอกาสต่างๆ ทั้งงานขึ้นบ้านใหม่ งานบวช งานแต่งงาน หมอลำนั้นไม่ใช่การแสดงเพียงเพื่อความสนุกสนานเท่านั้น แต่คำลำยังสามารถเป็นคติเตือนใจได้อีกด้วย

Kwa Shia : Lisu Dance - กัวเซีย : การเต้นรำของลีซู

Kwa Shia : Lisu Dance

Performers
Mr. Yanglupha YANGCHA, 67 yrs.
Mr. Chondon BIAHPHA, 48 yrs.
Mrs. Armi SAE JAO, 60 yrs.
Mrs. Arsami BIAPHA, 49 yrs.
Mrs. Namoei PIAHPHA, 45 yrs.
The sound of foot tapping compounding with the sound of music at the yard is a signal of New Year celebration. Men and women in the colorful traditional dressing gather at the vicinity of the headman’s house and cheerfully dance together following the rhythm of music to pray for god to get rid of bad things. The louder their foot tapping, the more peaceful and safe their village is. The tempo of dancers’ movement depends on the frequency of musical instrument. Subu or string instrument gives relaxing tempo as if inviting people to come and join while tempo of Fulu, a mouth organ arouses high-spirited dance.
.................................................................
กัวเซีย : การเต้นรำของลีซู
บ้านปางสา จ.เชียงราย


ผู้แสดง
นายอย่างหลู่ผ่า แซ่จา อายุ ๖๗ ปี
นายชลดล เบียะผะ อายุ ๔๘ ปี
นางอาหมี่ แซ่จ๋าว อายุ ๖๐ ปี
นางอาซามิ เบียะผะ อายุ ๔๙ ปี
นางนาเหมย เบียะผะ อายุ ๔๕ ปี

เสียงเท้ากระทบผืนดินผสานเสียงดนตรีกลางลานบ้าน แสดงถึงช่วงเวลาของการเฉลิมฉลองรับศักราชใหม่ เด็กผู้ใหญ่ชายหญิงในชุดประจำเผ่าหลากสีสันร่วมเต้นรำตามจังหวะดนตรี เพื่อบอกกล่าวสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ช่วยขับไล่สิ่งชั่วร้ายออกไปจากชุมชน เสียงกระทบเท้ายิ่งดังเท่าไร ความสงบสุขปลอดภัยจักยิ่งทวี ท่วงท่าช้า-เร็วของผู้เต้นขึ้นอยู่กับเครื่องดนตรีที่ให้จังหวะนำ ซือบือ ให้ท่วงทำนองผ่อนคลาย ดุจจะเชิญชวนผู้คนให้มาร่วมเต้น จังหวะคึกคักทำนองเร้าใจของ ฝู่หลู่ จักกระตุ้นให้ผู้มาเยือนร่วมเต้นรำรับขวัญวันใหม่

Cement Decorations - ประติมากรรมปูน

Cement Decorations
Muang, Kalasin

Craftsman
Manothai JANTHAKORN, 37 yrs.
Decorative cement is an art of making designs from cement to decorate Thai traditional architecture, i.e. temple, ordination hall, stupa. According to archeological evidences, cement decoration could be traced back since Tavaravadi era. Recently, the skillful artisans create various local fantastic cement decorations. There could be divided into 3 techniques: free standing free-hand moulding, bas-relief free-hand moulding and carve plasticine to make cement moulds. Design and stories of cement decoration reflect its beautiful characteristics of Thai fine arts.
.................................................................................
ประติมากรรมปูน
อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์

ช่างสาธิต
นายมโณทัย จันทกรณ์ อายุ ๓๗ ปี
ปูนปั้น เป็นงานศิลปะที่สร้างมาจากปูนซีเมนต์ ใช้เพื่อตกแต่งบนงานสถาปัตยกรรมของไทย เช่นอุโบสถ ศาลาการเปรียญ หรือเจดีย์ ตามหลักฐานโบราณคดี งานปูนปั้นมีมาตั้งแต่สมัยทวารวดี ในปัจจุบันช่างที่มีฝีมือที่สืบทอดความรู้จากรุ่นสู่รุ่นได้สร้างสรรค์งานปูนปั้นที่มีความวิจิตรแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นถิ่น ปูนปั้นที่เห็นในปัจจุบันมีสามแบบ คือ ปูนปั้นแบบลอยตัว ปูนปั้นสดแบบนูน และการแกะสลักแม่พิมพ์เพื่อใช้ในการหล่อปูนปั้นที่เหมือนกันจำนวนมาก แม้ว่างานปูนปั้นในปัจจุบันจะดูเป็นงานเชิงพาณิชย์ศิลป์ แต่ลวดลายและเรื่องราวที่ปรากฏบนงานปูนปั้นกลับสะท้อนถึงเอกลักษณ์คิลปะที่งดงามหลากหลาย

Pee Ta Khon Mask - หน้ากากผีตาโขน

Pee Ta Khon Mask
Dan Sai, Loei

Craftsmen
Mr. Adirek CHAICHANA, 24 yrs.
Mr. Wirayut NATSAENGSRI, 19 yrs.

The mask making is part of a festival in July, known as the grand merit making festival. Mask making begins around May. Traditionally, after the festival was over all the masks were disposed in the Mun river. Bad luck would be washed away by water. The Mun river flows into the Mekong. Today many tourists join the annual festival. Masks are no longer thrown away, but sold to tourists. Regarding to crafting, significant elements of masks are made of natural materials, likes top-head from bamboo basket of sticky rice cooking and face from coconut bark sheet. Colorful paints complete the masks at the end.

...............................................................................

หน้ากากผีตาโขน
อ.ด่านซ้าย จ.เลย
ช่างสาธิต
นายอดิเรก ชัยชนะ อายุ ๒๔ ปี
นายวีรยุทธ เนตรแสงศรี อายุ ๑๙ ปี

หน้ากากผีตาโขนเป็นส่วนหนึ่งของงานบุญผะเหวดในเดือนกรกฎาคม ทั้งนี้ ช่างจะเตรียมการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ภายหลังการประกอบขบวนแห่พระเวสสันดรเข้าเมือง ชาวบ้านจะทิ้งหน้ากากในแม่น้ำหมันเพื่อสะเดาเคราะห์ แต่ในปัจจุบัน หน้ากากกลับกลายเป็นสินค้าให้ขายกับนักท่องเที่ยว หน้ากากประดิษฐ์จากวัสดุวัสดุธรรมชาติ “หวดไม้ไผ่” ที่ใช้นึ่งข้าวเหนียวนำมาทำเป็นส่วนหัว ส่วนใบหน้าทำจากกาบมะพร้าว สีน้ำมันหลากสีสันจะแต่งแต้มให้หน้ากากมีเอกลักษณ์และความงาม

Pee Ta Khon Mask - หน้ากากผีตาโขน

Pee Ta Khon Mask
Dan Sai, Loei

Craftsmen
Mr. Adirek CHAICHANA, 24 yrs.
Mr. Wirayut NATSAENGSRI, 19 yrs.

The mask making is part of a festival in July, known as the grand merit making festival. Mask making begins around May. Traditionally, after the festival was over all the masks were disposed in the Mun river. Bad luck would be washed away by water. The Mun river flows into the Mekong. Today many tourists join the annual festival. Masks are no longer thrown away, but sold to tourists. Regarding to crafting, significant elements of masks are made of natural materials, likes top-head from bamboo basket of sticky rice cooking and face from coconut bark sheet. Colorful paints complete the masks at the end.
...............................................................................
หน้ากากผีตาโขน
อ.ด่านซ้าย จ.เลย
ช่างสาธิต
นายอดิเรก ชัยชนะ อายุ ๒๔ ปี
นายวีรยุทธ เนตรแสงศรี อายุ ๑๙ ปี

หน้ากากผีตาโขนเป็นส่วนหนึ่งของงานบุญผะเหวดในเดือนกรกฎาคม ทั้งนี้ ช่างจะเตรียมการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ภายหลังการประกอบขบวนแห่พระเวสสันดรเข้าเมือง ชาวบ้านจะทิ้งหน้ากากในแม่น้ำหมันเพื่อสะเดาเคราะห์ แต่ในปัจจุบัน หน้ากากกลับกลายเป็นสินค้าให้ขายกับนักท่องเที่ยว หน้ากากประดิษฐ์จากวัสดุวัสดุธรรมชาติ “หวดไม้ไผ่” ที่ใช้นึ่งข้าวเหนียวนำมาทำเป็นส่วนหัว ส่วนใบหน้าทำจากกาบมะพร้าว สีน้ำมันหลากสีสันจะแต่งแต้มให้หน้ากากมีเอกลักษณ์และความงาม

Pottery -Pottery

Pottery
Ban Phon Bok, Nong Khai

Craftsmen
Mr. Thongwan SRIWAN, 56 yrs.
Mr. Savian SILAKHOM, 52 yrs.

Stoneware pottery production at Baan Phon Bok and Baan Don Klang villages in Nong Khai can trace its connections to ancient kilns in the area at least the past hundred year, and perhaps longer;about 400 years old. Archaeologists and scholars believe that the Tai-Lao speaking groups in Mekong area use this kind of pot for daily use as well as ritual. For daily use, pots have been used for storing food and water, particularly ferment fish (Pla Daek) which is a form of food preservation and give local cuisine a distinct flavour. For ritual, they might have been used for secondary burial practice since ancient time.
....................................................
เครื่องปั้นดินเผา
บ้านโพนบก จ.หนองคาย
ช่างสาธิต
นายทองวัน ศรีวรรณ อายุ ๕๖ ปี
นายเสวียน ศิลาคม อายุ ๕๒ ปี

ข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์บ่งชี้ว่าการผลิตภาชนะดินเผาชนิดเนื้อแกร่งในเขตบ้านโพนบก และบ้านดอนกลาง ต.ชุมช้าง อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย ในปัจจุบัน เชื่อมโยงได้กับการผลิตภาชนะดินเผาชนิดเนื้อแกร่งรุ่นโบราณซึ่งย้อนหลังไปได้อย่างน้อย ๑๐๐ ปีหรืออาจจะมากกว่านั้นในปัจจุบันนั้น เกลุ่มคนลาวผลิตขึ้นภาชนะดินเผาเพื่อสนองความต้องการใช้งานในชีวิตประจำวันในครัวเรือน เช่น การใช้เป็นบรรจุภัณฑ์ สำหรับการเก็บกัก หมัก ถนอม และบรรจุอาหาร อาทิ ปลาร้า เหล้า และน้ำ นอกจากนั้น หลักฐานทางโบราณคดีและข้อมูลทางประวัติศาสตร์ระบุด้วยว่า ภาชนะดินเผาชนิดเนื้อแกร่งเหล่านี้ มีบทบาทในเชิงพิธีกรรมด้วย

Single and Double Ikat Weaving - Single and Double Ikat Weaving

Single and Double Ikat Weaving
Ban Thnong Rat, Surin
Craftsmen
Mrs. Supen PANSRI, 50 yrs.
Mrs. Patchari CHOBDEE, 40 yrs.

The Khmer are an ethnic group living along the Thai-Cambodian border; including of Baan Thanongrat, who have a tradition of silk weaving in different styles i.e. Am prom, Ka niew, Samor, Anlusiem and Hol etc. Hol, a twill weave ikat composed of rows of parallel lines, is considered the most sophisticated and most beautiful among all as it may takes up to eleven colors to create its unique design. The word Hol means flow in Khmer. The design of Hol is sometimes called Ngoo Luam , python design, or Bai Pai, bamboo leave design. Hol is usually worn by Khmer women during auspicious occasions such as in ordination ceremonies, wedding and other religious functions.
.........................................................
ผ้าโฮลและผ้าอัมปรม
บ้านทนงรัตน์ จ.สุรินทร์
ช่างสาธิต
นางสุเพ็ญ พันธุ์ศรี อายุ ๕๐ ปี
นางพัชรี ชอบดี อายุ ๔๐ ปี

ชาวไทยเชื้อสายเขมรที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในจังหวัดสุรินทร์ บุริรัมย์และศรีสะเกษมีการทอผ้าไหมหลายชนิด ได้แก่ อัมปรม กะนีร์ สะมอร์ อันลูซีน โสร่งและโฮล ในบรรดาผ้าดังกล่าว ผ้าโฮลถือว่าเป็นผ้าที่มีค่ามากที่สุด เพราะทอยากและมีความสวยงามมาก คำว่า โฮล หมายถึง น้ำไหล แต่ชาวบ้านบางคนบอกว่าลายผ้าโฮลดูคล้ายลายของงูเหลือม บางครั้งจึงเรียกว่า ลายงูเหลือม นับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน หญิงชาวไทยเชื้อสายเขมรจะนุ่งผ้าโฮลเพื่อออกงานมงคลต่าง ๆ เช่น งานบวช งานแต่งงาน งานประเพณีพิธีกรรมทางศาสนา ฯลฯ

Mural Painting - Mural Painting

Mural Painting
Ban Phu Din, Mahasarakham

Craftsman
Mr. Pongsupun TUBTIMSAI, 35 yrs.

Isan painter draws the mural painting on the wall of architecture in the temple to show the story of Buddhism and ceremony event in each 12 months around the year. Mr. Pongsupun Tubtimsai is one of the Isan painters who join the traditional painted style to the contemporary painted style. The characteristic of these painting, as the bright color realistic style painting, shows the Isan culture, belong to the Mekong basin.
.............................................................
จิตรกรรมฝาผนัง
บ้านภูดิน จ.มหาสารคาม

ช่างสาธิต
นายพงษ์สุพรรณ ทับทิมไสย อายุ ๓๕ ปี

จิตรกรอีสานวาดจิตรกรรมฝาผนังในสถาปัตยกรรมต่างๆในวัด เพื่อเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและประเพณี 12 เดือนในรอบปี นายพงษ์สุพรรณ ทับทิมไสย เป็นหนึ่งในจิตรกรอีสานร่วมสมัยที่นำรูปแบบการวาดภาพอีสานโบราณมาผสมกับรูปแบบการวาดภาพสมัยใหม่ จนกลายเป็นงานร่วมสมัยที่มีลักษณะเด่น คือ การวาดภาพเหมือนจริงด้วยสีที่สดใส ที่สะท้อนวัฒนธรรมอีสานบนที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง

Wood craving - ไม้แกะสลัก

Wood craving
Ban Tham Pha Tong, Chiang Rai

Craftsman
Mr. Khamchan YANO, 47 yrs.
Khamchan Yano has perpetuated wood craving from his grandfather. Most of his products are small size woodcrafts from softwood and some natural materials such as tree root, bamboo stump and coconut shell. His crafts include both souvenirs and local utensils. He also invented new style of woodcraft as the model of traditional Lanna people’s way of life and customs and make them lively move by inserting mechanical system. His moving woodcrafts therefore attractively introduce the Lanna ways of life.
.......................................................
ไม้แกะสลัก
บ้านถ้ำผาตอง จ.เชียงราย

ช่างสาธิต
นายคำจันทร์ ยาโน อายุ ๔๗ ปี

คำจันทร์ ยาโน สืบทอดงานไม้แกะสลักจากผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้าน ผลงานส่วนใหญ่เป็นงานแกะสลักขนาดเล็ก มีทั้งที่เป็นของใช้พื้นบ้านและของที่ระลึก แกะจากไม้เนื้ออ่อนที่สามารถหาได้ในหมู่บ้าน รวมถึงเศษวัสดุธรรมชาติ จำพวก รากไม้ ตอไม้ไผ่ กะลามะพร้าว ต่อมาเขาพยายามสร้างงานในรูปแบบใหม่ โดยใส่วิถีชีวิต และประเพณีของคนล้านนา เข้าไปในงานแกะสลัก พร้อมกับทำให้งานดูมีชีวิตผ่านกลไกบังคับการเคลื่อนไหวด้วยมือ และต่อมาทดลองใช้มอเตอร์ไฟฟ้า งานไม้แกะสลักที่สามารถเคลื่อนไหวได้ จึงสื่อให้เห็นถึงเรื่องราวของวิถีชีวิตล้านนาได้อย่างน่าสนใจ

Bai Sri - Bai Sri

Bai Sri
Ban Lai Hin, Lampang

Craftsmen
Mrs. Pee DUANGKAEW, 73 yrs.
Mrs. Buaphet SANYAKHUEN, 43 yrs.
Bai Sri is a traditional offering in the auspicious rites to pay homage to deities and to strengthen the kwan (soul), It is made of banana leaves and flowers, the simply natural materials available in village. There are various size and designs of Bai Sri. One person can make a small one but the several tiers must be made by a group of villagers. It is an opportunity to unite and hand down the neatly skill of making Bai Sri from elderly to next generation. Bai Sri makers intend to make it very neat and beautiful to be worthy of worship sacred powers.
.......................................................
บายศรี
บ้านไหล่หิน จ.ลำปาง
ช่างสาธิต
นางปี ดวงแก้ว อายุ ๗๓ ปี
นางบัวเพชร สัญญาเขื่อน อายุ ๔๖ ปี

บายศรีเป็นเครื่องประกอบพิธีกรรม ในการบวงสรวงเทพยดา สู่ขวัญ และงานบุญต่าง ๆ ทำจากใบตองและประดับด้วยดอกไม้ ซึ่งล้วนเป็นวัสดุจากธรรมชาติที่หาได้ง่ายในหมู่บ้าน ขนาดและรูปแบบของบายศรีมีหลากหลาย บายศรีขนาดเล็กแบบง่ายๆ สามารถทำคนเดียวได้ ถ้าเป็นบายศรีขนาดใหญ่ที่ประกอบขึ้นหลายชั้นชาวบ้านจะรวมกลุ่มช่วยกันทำ ผู้ที่ทำส่วนใหญ่คือผู้หญิง ซึ่งเป็นโอกาสในการถ่ายทอดความรู้จากผู้สูงอายุที่มีความชำนาญไปสู่คนรุ่นใหม่ ผู้ทำจะทำด้วยความตั้งใจเพื่อให้งานออกมาประณีตและงดงามควรค่ากับการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์

Lisu Weaving - ผ้าทอลีซู

Lisu Weaving
Ban Pang Sa, Chiang Rai

Craftsman
Mrs. Arsami BIAPHA, 54 yrs.
Although the Lisu villagers buy their clothing from the market for their everyday life, but female elder relatives continue carrying on and hand down the weaving skill to their girls. The girls begin to learn weaving long strip to make a shoulder bag and make adornments. It can be used for themselves and for sale. In spare time they fabricate the colorful brilliant pieces of cloth and create new variegated dress decorated with silver buttons and ornaments to show off during the New Year festival.
......................................................................
ผ้าทอลีซู
บ้านปางสา จ.เชียงราย
ช่างสาธิต
นางอาซามิ เบียะผะ อายุ ๕๔ ปี

แม้เสื้อผ้าที่ใส่ประจำวันจะซื้อหามาจากท้องตลาด ทว่าหญิงลีซูแม่ป้าน้าญาติผู้ใหญ่ยังคงสืบสาน และถ่ายทอดความรู้เรื่องงานทอให้เด็กหญิงได้เรียนรู้ ลองทำและลองทอผืนผ้าหน้าแคบ ไว้ตัดเย็บถุงย่ามหรือไว้ประดับตกแต่ง ทำใช้ ทำขาย ทำได้ยามว่าง เกิดเป็นผืนผ้า เส้นใย หลากหลายสีสัน ประดิษฐ์ปักถักทอ เย็บร้อยต่อเรียงซ้อนทับสลับสี ประดับประดาด้วยชุดเงินดุมเงินเหรียญตราบนเสื้อผ้าชุดใหม่ที่นำมาใส่มาอวดกันในวันปีใหม่

Khaen

Khaen
Ban Tha Reua, Nakhorn Phanom
Craftsman
Mr. Rasee MAEDMINGNGAO, 56 yrs.

The khaen is a symbol of the cultural continuity between Thailand and Laos. Every family in Ban Tha Reua, Nakhorn Phanom Province, is involved in making khaen. The village’s first master was Mr. Lone, who went with two friends to Laos some 70 years ago to learn to make khaen. His descendants and other villagers today use mai hia noi bamboo and silver coins from Laos, together with copper coins, suut insect wax, and hardwoods from Thailand, to create their khaen. The instruments from Ban Tha Reua are sold throughout Thailand, wherever Isan people can be found.
........................................................................
แคน
บ้านท่าเรือ จ.นครพนม
ช่างสาธิต
นายราษี แมดมิ่งเหง้า อายุ ๕๖ ปี

แคนเป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมระหว่างประเทศไทยและประเทศลาว ทุกครอบครัวในหมู่บ้านท่าเรือจังหวัดนครพนมต่างทำแคน ผู้ทำแคนคนแรกคือนายโลน ไปเรียนวิธีทำแคนกับเพื่อนสองคนที่ประเทศลาวเมื่อ 70 ปีมาแล้ว ในปัจจุบันลูก หลานและชาวบ้านใช้ไม้เฮี๊ยะน้อยในการทำแคน เหรียญเงินและทองแดงจากประเทศลาวในการทำลิ้นแคน รวมทั้งขี้สูดและไม้เนื้อแข็งนำมาจากประเทศไทย แคนจากหมู่บ้านท่าเรือส่งขายไปทั่วประเทศ
Fish Trap Weaving
Ban Kor Tai, Ubon Ratchathani

Craftsmen
Mr. Kumsing THONGNUEA, 65 yrs.
Mr. Udom SAENGPONG, 48 yrs.

The ‘Tum’ is a kind of bamboo fishing gear used to trap a species of small migratory catfish (Pangasius macronema), called Pla Yon in Thai. Beginning in April each year, the Pla Yon catfish migrates upstream from the Mekong River all the way to the Mun River. The seasonal migration of this catfish supports an economically important fishery sector in the villages of Ban Kor Tai.
Today, the region faces many challenges: the river, the people, and the environment are all changing. Economic development projects, especially the Pak Mun dam, are reducing the diversity of fish species. These in turn lead to a reduction in the variety of fishing gear and the knowledge of how to make them.

..........................................................................................
ตุ้มปลายอน
บ้านค้อใต้ จ.อุบลราชธานี

ช่างสาธิต
นายคำสิงห์ ทองเนื้อ อายุ ๖๕ ปี
นายอุดม แสงป้อง อายุ ๔๘ ปี

ตุ้ม เป็นเครื่องมือจับปลาที่ทำจากไม้ไผ่ ใช้จับปลายอน เดือนเมษายนของแต่ละปีเป็นฤดูที่ปลายอนจะอพยพจากแม่โขงสู่แม่มูน การจับปลาในช่วงนี้จึงมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อเศรษฐกิจของบ้านค้อใต้ ในทุกวันนี้ แม่น้ำ ผู้คน และสิ่งแวดล้อมเผชิญกับความเปลี่ยนแปลง โครงการพัฒนาเศรษฐกิจหลายโครงการ โดยเฉพาะอย่างเขื่อนปากมูล เป็นปัจจัยที่ส่งผลให้สายพันธุ์ปลาลดจำนวนลง และนั่นหมายถึง ประเภทของเครื่องมือจับปลาและความรู้ที่สั่งสมมาก็กำลังสูญหายไปด้วยเช่นกัน
Phrae-wa Weaving
Ban Pone, Kalasin

Craftsmen
Mrs. Bunlian SRATHONG, 43 yrs.
Ms. Prapawadee SRATHONG, 13 yrs.


Phrae-wa weaving came with the Phou Tai people when they came from Khamkeut, Bok, Vang, and Mahachai in Khammouan Province of Laos, crossing the Mekong River to Ban Pone, Khammuang District, Kalasin Province of Thailand about two centuries ago. Village women preserve the phrae-wa tradition until today. Mothers or female kin must teach daughters to weave, particularly the difficult and time-consuming technique of picking supplementary weft with the fingers that characterizes phrae-wa weaving. Young weavers begin with simple cloths such as the foot of a tube-skirt, advancing to a shoulder-cloth, and finally the shawl using beautiful and highly complicated patterns.
.............................................................................................
  • ผ้าแพรวา
    บ้านโพน จ.กาฬสินธุ์

    ช่างสาธิต
    นางบุญเลียน สระทอง อายุ ๔๓ ปี
    ด.ญ.ประภาวดี สระทอง อายุ ๑๓ ปี

    การทอผ้าแพรวามากับชาวผู้ไทที่ย้ายจากเมืองคำเกิด เมืองบก เมืองวัง เมืองมหาชัย แขวงคำม่วน ประเทศลาว ข้ามแม่น้ำโขงมาอยู่บ้านโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ ประเทศไทย เมื่อประมาณ 200 กว่าปี ผู้หญิงในหมู่บ้านทอผ้าแพรวามาจนถึงปัจจุบัน แม่หรือญาติหญิงต้องสอนลูกสาวทอผ้า ที่มีเทคนิคการทอสลับซับซ้อน โดยเฉพาะการใช้นิ้วมือเกาะเส้นไหมเพื่อทำลวดลาย ซึ่งเป็นคุณลักษณะเฉพาะของผ้าแพรวา เด็กหญิงเริ่มด้วยการฝึกทอตีนซิ่น ผ้าเบี่ยง จนถึงการทอผ้าคลุมไหล่ที่เรียกว่าแพรวา 10 ลาย ซึ่งซับซ้อน งดงามและเพิ่มประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น

Crafting Demonstration

Silver jewelry - Ban Chok, Surin
The knowledge of silversmithing in the Khmer village of Ban Chok in Surin province was introduced to the villagers 150 years ago by a goldsmith from Cambodia. Traditional Khmer silver jewelry typically makes use of elaborate wire filigree, and includes earrings and silver bead necklaces.
Today, silversmiths in Ban Chok diversify their products by combining traditional techniques with modern technology, incorporating new materials into contemporary designs.
....................................................................................................................................
เครื่องเงิน - บ้านโชค จ.สุรินทร์
ช่างสาธิต
นายป่วน เจียวทอง อายุ ๖๖ ปี
นายขันทิพย์ เจียวทอง อายุ ๔๑ ปี


การทำเครื่องเงินที่บ้านโชค จังหวัดสุรินทร์ เป็นภูมิปัญญาที่ชาวเขมรจากกัมพูชาได้นำมาถ่ายทอดแก่คนไทยเชื้อสายเขมรในประเทศไทย เทคนิคการผลิตเครื่องประดับเงิน โดยการประกอบลวดลายจากเส้นเงินเป็นรูปแบบเฉพาะของช่างเงินเชื้อสายเขมร เครื่องประดับที่เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่ม คือ ตะเกา และ สร้อยประคำ
ปัจจุบันช่างเงินที่บ้านโชคได้พัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์เงินที่หลากหลายมากขึ้น โดยยังคงใช้เทคนิคการผลิตแบบดั้งเดิม และปรับประยุกต์รูปแบบการผลิต รวมไปถึงการนำวัสดุจากภายนอกมาใช้

ลุ่มน้ำโขง: เชื่อมสายใยวัฒนธรรม

โครงการจัดงานเทศกาลวิถีชีวิตชาวบ้าน
“ลุ่มน้ำโขง: เชื่อมสายใยวัฒนธรรม”

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน) ได้รับเชิญจากศูนย์วิถีชีวิตชาวบ้านและมรดกทางวัฒนธรรม สถาบันสมิธโซเนียนให้เป็นเจ้าภาพร่วมกับอีก ๔ ประเทศในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ได้แก่ สปป.ลาว กัมพูชา เวียดนาม และมณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน ในการจัดงานเทศกาลวิถีชีวิตชาวบ้าน (Smithsonian Folk Life Festival 2007) ในหัวข้อเรื่อง ลุ่มน้ำโขง: เชื่อมสายใยวัฒนธรรม (Mekong River: Connecting Culture) ที่จะจัดขึ้น ณ กรุงวอชิงตัน ดี ซี ประเทศสหรัฐอเมริกา ในระหว่างวันที่ ๒๗ มิถุนายนถึง ๑ กรกฎาคม และ วันที่ ๔ – ๘ กรกฎาคม ๒๕๕๐
เทศกาลวิถีชีวิตชาวบ้าน (Smithsonian Folklife Festival) เป็นเทศกาลประจำปีของสถาบันสมิธโซเนียน ซึ่งเริ่มต้นขึ้นเมื่อ ค.ศ. ๑๙๖๖ และจัดต่อเนื่องเป็นประจำทุกปีในช่วงฤดูร้อน ณ บริเวณสนามกลางแจ้งบริเวณ National Mall ลักษณะพิเศษของการจัดเทศกาลนี้ อยู่ที่การยึดหลักแนวคิดเรื่องพิพิธภัณฑ์มีชีวิต การนำเสนอเนื้อหาต่างๆ ของเทศกาลจึงเน้นการส่งผ่านความรู้ระหว่างเจ้าของวัฒนธรรมและผู้เข้าชมเทศกาล โดยมุ่งเน้นให้กลุ่มคนในวัฒนธรรมต่างๆ เป็นผู้บอกเล่าวิถีชีวิตด้วยตัวของเขาเอง เทศกาลจึงเป็นพื้นที่สื่อกลางให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนในและคนนอกวัฒนธรรม มีการจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้ผู้เข้าชมสามารถสัมผัส ซักถาม มีส่วนร่วมลงมือทำ และเรียนรู้ชีวิตของชาวบ้านผ่านงานฝีมือและการจัดแสดงทางวัฒนธรรม เพื่อให้ผู้เข้าชมรู้สึกเข้าใจวิถีชีวิต และมีท่าทีที่จะเคารพศักดิ์ศรีของเจ้าของวัฒนธรรมนั้น
เพื่อสร้างให้เกิดความเข้าใจวิถีชีวิตของคนที่อาศัยในบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง จึงได้มีการเตรียมงานมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๗ จนถึงปัจจุบัน โดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน) ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากมูลนิธิร็อกกี้เฟลเล่อร์ (The Rockefeller Foundation) ให้ดำเนินการจัดประชุมระดมความคิดจากตัวแทนของกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขงในเดือนตุลาคม ๒๕๔๗ จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติให้แก่นักวิจัยประเทศต่างๆ ในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ประเทศละ ๑๕ วัน ในช่วงธันวาคม ๒๕๔๘ ถึงมกราคม ๒๕๔๙ ตลอดจนการทำวิจัย การเก็บข้อมูล และการคัดเลือกประเด็นต่างๆ และตัวบุคคลที่จะมานำเสนอในเทศกาล
ในวันที่ ๑๘ - ๑๙ มกราคม ๒๕๕๐ ศูนย์ฯ ได้จัดประชุม Country Review กับเจ้าหน้าที่ของสมิธโซเนียนเพื่อสรุปข้อมูลเกี่ยวกับงานช่าง การแสดง และตัวบุคคลทั้งหมดที่ประเทศไทยจะนำไปเสนอ โดยประเทศไทยจะนำงานช่าง ๑๒ กลุ่มไปสาธิต และนำการแสดง ๖ ประเภทไปแสดง
นอกจากนี้ ยังได้มีการจัดอบรมผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นพรีเซนเตอร์ เพื่อช่วยเป็นสื่อกลางในการสื่อสารภาษาอังกฤษระหว่างช่างและนักแสดงกับผู้ชมงานชาวสหรัฐ โดยจัดขึ้นในวันที่ ๘ – ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๐ ที่ Museum of Ethnology ฮานอย ประเทศเวียดนาม ในระหว่างนั้น ยังได้มีการจัดเทศกาลขนาดเล็ก (Mini Festival) ในหัวข้อ “งานไม้ไผ่ในลุ่มแม่น้ำโขง” ด้วย โดยให้ทั้ง ๕ ประเทศนำงานช่างที่เป็นไม้ไผ่ไปสาธิตด้วย ในส่วนของประเทศไทย ได้นำช่าง ๒ คนจากบ้านค้อใต้ จ.อุบลราชธานี ไปสาธิตและบอกเล่าเกี่ยวกับการสานตุ้มจับปลากระทรวงวัฒนธรรมได้เล็งเห็นความสำคัญในการจัดแสดง และสื่อสารให้ผู้ร่วมชมเทศกาลชาวสหรัฐให้เข้าใจ เรียนรู้ และสร้างให้เกิดท่าทีในการเคารพความหลากหลายทางวัฒนธรรม ผ่านชีวิตการทำงานของชาวบ้านในลุ่มน้ำโขง จึงได้อนุมัติเงินสนับสนุนในส่วนของการนำคณะชาวบ้านเดินทางไปนำเสนอวัฒนธรรมในงานเทศกาลเดือนมิถุนายน 2550 นี้

Taking Part in the 2007 Smithsonian Folklife Festival

Mekong River : Connecting Cultures

In the world full of cultural diversity, recognising and respecting other peoples’ way of life is crucial for peaceful coexistence. Building bridges between different cultures is a primary aim of the Smithsonian Folklife Festival which is an annual festival that takes place in The National Mall, Washington D.C., every summer. Each year, living folk cultures from regions of the United States and other parts of the world are demonstrated and communicated to the American public. The Festival is intended to be a learning process during which visitors can have first-hand experience of a culture represented by its culture bearers who communicated through English-speaking presenters.
In 2007 one theme of the Festival is “Mekong River: Connecting Culture” which will tell stories of folk cultures of many groups of people who live in the Mekong subregion. The PMCSAC has been invited to take part in hosting the Festival together with Laos, Cambodia, Vietnam and Yunnan Province of China. Each country will be represented by skilled craftsmen and folk artists and musicians who sill take part in craft demonstration and performances in Washington D.C. for about two weeks from June 27 to July 8 , 2007.
The preparation for the Festival has been under way since 2004 and included a series of seminars, workshops, training sessions and research. The activities do not only gear towards the Festival, but are designed to build capacity for researchers, cultural workers, cultural administrators, in documenting and presenting living cultural heritage. They have also created friendship and paved way for further collaboration among Mekong countries.
The activities were supported by generous funding from the Rockefeller Foundation. The participation of Thai delegation is funded by the Royal Thai government through the support of the Ministry of culture.
One June 25, 2007 a group of 60 participants – craftspeople, musicians, performers, from the North and Northeast of Thailand, and presenters will depart for Washington DC., taking with them the pride of our living cultural traditions and the life stories of their cultural bearers to present to people from other parts of the world.